วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โรคอัมพาต (Paralysis)



 
 อัมพาต (Paralysis)  คือ อาการที่กล้ามเนื้อของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ เนื่องจากภาวะเจ็บป่วยที่ทำให้ระบบสั่งการของสมองสำหรับควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดความผิดพลาด ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือการประสบอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยที่กระทบกระเทือนกับสมอง ไขสันหลัง กระดูกคอ และเส้นประสาทต่าง ๆ ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้เส้นทางการส่งกระแสประสาทระหว่างสมองและกล้ามเนื้อขาดช่วง ส่งผลให้เกิดอาการอัมพาตเป็นบางจุด เช่น บริเวณใบหน้า แขน ขา อาจเป็นอัมพาตครึ่งซีก หรืออาจเป็นอัมพาตทั้งร่างกาย ผู้ป่วยอัมพาตมีโอกาสหายและอาการดีขึ้นได้หากได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูร่างกายอย่างถูกต้องเหมาะสม

                 ชนิดและอาการของอัมพาต

                   1.  อัมพาตเฉพาะที่ มีอวัยวะบางส่วนที่เป็นอัมพาตและขยับเขยื้อนไม่ได้ เช่น ใบหน้า หรือมือ

                2.  อัมพาตทั่วร่างกาย เป็นอัมพาตในบริเวณกว้าง ส่งผลให้อวัยวะบางส่วนหรือหลายส่วนขยับเคลื่อนไหวไม่ได้ ได้แก่

-    โมโนพลีเจีย (Monoplegia) – แขน หรือขาข้างใดข้างหนึ่งขยับเคลื่อนไหวไม่ได้
-    เฮมิพลีเจีย (Hemiplegia) – แขน และขาข้างใดข้างหนึ่งขยับเคลื่อนไหวไม่ได้ หรือที่เรียกว่า อัมพาตครึ่งซีก
-    พาราพลีเจีย (Paraplegia) – ขาทั้งสองข้าง หรือตั้งแต่บริเวณอุ้งเชิงกรานและช่วงล่างของลำตัวลงไปขยับเคลื่อนไหวไม่ได้
-     เตตร้าพลีเจีย หรือ ควอดริพลีเจีย (Tetraplegia หรือ Quadriplegia) – แขนและขาทั้งสองข้างขยับเคลื่อนไหวไม่ได้
ทั้งนี้ อัมพาตยังแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะกล้ามเนื้อในบริเวณที่เป็นอัมพาตด้วย ได้แก่

1.  อัมพาตแบบกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก (Flaccid Paralysis) กล้ามเนื้อจะหดตัวและอ่อนแรง
2.  อัมพาตแบบกล้ามเนื้อเกร็ง (Spastic Paralysis) กล้ามเนื้อจะตึงและแข็ง ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อกระตุกหรือเกิดตะคริวได้
หากผู้ป่วยเป็นอัมพาตแค่บางส่วน อาจควบคุมกล้ามเนื้อในบริเวณที่เป็นอัมพาตให้ขยับเคลื่อนไหวได้บ้างแต่หากเป็นอัมพาตทั่วร่างกาย จะไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อในบริเวณนั้นให้ขยับหรือเคลื่อนไหวได้เลย
        อัมพาตอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว อย่างผู้ป่วยโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell's Palsy) ซึ่งมีใบหน้าบิดเบี้ยวจากกล้ามเนื้อบนใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีกเพราะเกิดภาวะอักเสบที่ประสาทสมองเส้นที่ 7 หากได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยจะฟื้นตัวกลับมาและหายจากอาการอัมพาตบางส่วน หรือหายดีเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายอาจยากที่จะหายดีเป็นปกติ หรืออาจเป็นอัมพาตไปตลอดชีวิต ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย การรักษา และการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการอัมพาตด้วย

               สาเหตุของอัมพาต

               โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Accident หรือ Stroke) ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก มีลักษณะการเกิด ดังนี้
               1. Ischemic Stroke : เส้นเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตถูกลิ่มเลือดอุดตัน หรือเกิดจากหลอดเลือดตีบแคบลงจากไขมันเกาฝังตัวที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดและออกซิเจนเดินทางไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในสมองไม่ได้
              2. Hemorrhagic Stroke : เส้นเลือดในสมองแตก ฉีกขาด หรือได้รับความเสียหาย ทำให้เลือดและออกซิเจนเดินทางไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในสมองไม่ได้

            เมื่อเกิดอาการดังกล่าว จะนำไปสู่ภาวะสมองขาดเลือด กระทบต่อสมรรถภาพในการควบคุมสั่งการกล้ามเนื้ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ทำให้อวัยวะไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวเป็นปกติได้

  การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ

 เมื่อศีรษะได้รับบาดเจ็บหรือการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดความเสียหายภายในสมองได้ เนื้อเยื่อสมองอาจฉีกขาดหรือฟกช้ำจากการกระแทกระหว่างสมองกับกะโหลกศีรษะจนสร้างความเสียหายแก่เส้นเลือดและเส้นประสาทในสมองความเสียหายมักเกิดขึ้นกับสมองซีกซ้ายที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย จนส่งผลต่ออาการอัมพาตของร่างกายในซีกขวาและความเสียหายในสมองซีกขวาที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายจะทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตบริเวณร่างกายซีกซ้าย อย่างไรก็ตาม อาการอัมพาตของร่างกายในแต่ละซีกนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมองที่ได้รับบาดเจ็บ

การได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง

อาการโรคอัมพาต
ไขสันหลังเป็นเส้นประสาทที่อยู่ภายในกระดูกสันหลังที่เชื่อมไปถึงกระดูกคอมีหน้าที่ควบคุมระบบประสาทส่วนกลางซึ่งเป็นตัวกลางเชื่อมสัญญาณระหว่างสมองกับร่างกายในการรับรู้ความรู้สึกต่างๆทำให้สมองสามารถสั่งการควบคุมการแสดงออก ปฏิกิริยา และการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกายได้ ดังนั้น เมื่อไขสันหลังเกิดความเสียหาย เช่น กระดูกบริเวณคอ หรือกระดูกสันหลังบาดเจ็บจากแรงกระแทกอาจทำให้ไขสันหลังได้รับความเสียหายจนไม่สามารถส่งสัญญาณจากสมองไปยังกล้ามเนื้อเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวได้อีกต่อไป
การบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังมักมีสาเหตุจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆมากกว่าการได้รับการกระทบกระเทือนจนสร้างความเสียหาย อุบัติเหตุรุนแรงที่อาจทำให้ไขสันหลังบาดเจ็บ ได้แก่ อุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการทำงาน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ การหล่นจากที่สูง เป็นต้น ทั้งนี้ ลักษณะอาการอัมพาตนั้นขึ้นอยู่กับบริเวณไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บด้วย เช่น การบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังส่วนกลางอาจทำให้เป็นอัมพาตชนิดพาราพลีเจีย (ร่างกายส่วนล่างลำตัวลงมาเป็นอัมพาต) หรือการบาดเจ็บบริเวณกระดูกคออาจทำให้เป็นอัมพาตชนิดเตตร้าพลีเจีย หรือควอดริพลีเจีย (เป็นอัมพาตทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง)

             หลอดเลือดอุดตัน

 เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น บวกกับการที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือในคนที่แข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวก็ตาม ที่บริเวณผนังหลอดเลือดจะมีไขมันมาเกาะ ซึ่งไขมันเหล่านั้นจะพอกสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลาที่ผ่านไป และยังมีพวกเม็ดเลือด รวมถึงสารอื่นๆมาร่วมกันพอกหนาขึ้นๆเป็นลิ่มเลือด จนสุดท้ายอยู่มาวันหนึ่ง ลิ่มเลือดนั้นเกิดหลุดแล้วก็ล่องลอยไปตามกระแสเลือด ถ้าลอยอยู่เฉยๆคงจะไม่มีปัญหาอะไรตามมา แต่มันดันไปอุดในหลอดเลือดที่เล็กกว่าเข้า จึงทำให้เกิดปัญหาตามมา โดยความจริงลิ่มเลือดนี่สามารถไปอุดได้หลายที่ซึ่งปัญหาที่จะตามมาก็จะแตกต่างกันไป เช่น ในหัวใจก็จะทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด แต่ในกรณีของโรคอัมพาตและโรคอัมพฤกษ์นั้นจะเกิดจากการที่ลิ่มเลือดที่ว่านี้ไปอุดตันที่สมองนั่นเอง


              โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือเอ็มเอส (Multiple Sclerosis)



  ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายซึ่งทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดการติดเชื้อทำงานผิดปกติ ส่งผลให้สารมัยอีลิน (Myelin) ที่หุ้มอยู่รอบใยประสาทบริเวณไขสันหลังถูกทำลายเมื่อปลอกประสาทนี้ถูกทำลาย ส่งผลรบกวนต่อการนำสัญญาณสื่อประสาทระหว่างสมองกับร่างกาย ทำให้เกิดอาการอัมพาตได้ในที่สุด นอกจากนี้ สาเหตุของอาการอัมพาต ได้แก่
1. โรคทางระบบประสาท เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis)หรือโรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม (Motor Neuron Disease) ซึ่งเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสื่อมหรือตายก่อนถึงอายุขัย อาจทำให้เกิดอัมพาตทั้งตัวได้
2. โรคที่ภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น กลุ่มอาการจีบีเอส หรือ กิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre Syndrome) ที่ระบบประสาทส่วนปลายเกิดการอักเสบติดเชื้อฉับพลัน
3.  โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือโรคใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก (Bell's Palsy) เส้นประสาทบริเวณใบหน้าซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้าเกิดการอักเสบ
4.  โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) มีความผิดปกติทางสมองทำให้ร่างกายขยับหรือเคลื่อนไหวลำบากหรือผิดปกติ
5.   กลุ่มอาการหลังจากโรคโปลิโอ (Post-Polio Syndrome)
6.   เนื้องอกที่เส้นประสาท (Neurofibromatosis)
7.   มะเร็งสมอง มะเร็งไขสันหลัง มักทำให้เกิดอาการอัมพาตครึ่งซีก
8.   โรคไลม์ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อ แบคทีเรียจะไปทำลายเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการอัมพาตชั่วคราวบริเวณใบหน้า
9. พิการแต่กำเนิด เช่น สไปนา ไบฟิดา เป็นอาการพิการแต่กำเนิดบริเวณกระดูกสันหลังและระบบประสาท ทำให้ร่างกายอัมพาตบางส่วน หรืออัมพาตอย่างถาวร

                  การวินิจฉัยอัมพาต
   หากแพทย์ตรวจร่างกายและทดสอบสมรรถภาพร่างกายแล้วพบว่าผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นอัมพาต แต่หากแพทย์มีข้อสงสัย ต้องการวินิจฉัยหาสาเหตุ หรือตรวจหาบริเวณที่เป็นอัมพาตให้แน่ชัดขึ้น แพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีการ ดังนี้
1. การเอกซเรย์ (X-Ray) เป็นการฉายรังสีเอกซเรย์ผ่านร่างกาย เพื่อสร้างเป็นภาพอวัยวะภายในที่ต้องการตรวจ มีประโยชน์ในการวินิจฉัยความเสียหายบริเวณกระดูกสันหลังหรือกระดูกคอ
2.การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เป็นวิธีการสร้างภาพถ่ายอวัยวะภายในจากการฉายรังสีเอกซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะให้รายละเอียดที่เพิ่มขึ้นจากการเอกซเรย์ธรรมดา มักใช้ตรวจหาความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณศีษะและไขสันหลังจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรง
3.การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นวิธีการสร้างภาพอวัยวะภายในที่ต้องการตรวจด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การใช้ MRI ช่วยให้แพทย์เห็นภาพความผิดปกติของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ประกอบการวินิจฉัยได้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณสมองและไขสันหลังเพื่อให้ภาพเอกซเรย์ที่ได้จากการ X-Ray, CT Scan หรือ MRI มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาจใช้ การฉีดสีเพื่อตรวจไขสันหลัง (Myelography) เพิ่มเติม ซึ่งเป็นการตรวจไขสันหลังด้วยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นประสาทไขสันหลัง
4.  การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) ใช้เครื่องมือที่มีเซ็นเซอร์ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าที่อยู่ในกล้ามเนื้อและเส้นประสาทตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย แพทย์มักนำมาใช้ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell's Palsy)

      การรักษาอัมพาต
      หากมีอาการอัมพาต แพทย์จะวินิจฉัยและรักษาตามสาเหตุ หรืออาการป่วยต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต แต่หากผู้ป่วยเป็นอัมพาตแบบถาวรนั้นจะไม่สามารถรักษาได้ เน้นการดูแลให้ผู้ป่วยปรับตัวใช้ชีวิตต่อไปได้ การรักษาประกอบด้วยวิธีการดังนี้
1. การผ่าตัด หรือการตัดอวัยวะ แพทย์จะพิจารณาเป็นกรณีไป ขึ้นอยู่กับอาการป่วยและความรุนแรงของการป่วยที่เป็นสาเหตุให้เกิดอัมพาต
2. การทำกายภาพบำบัด เป็นการฝึกการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยวิธีการและแบบแผนที่ถูกต้องเหมาะสมภายใต้การดูแลหรือคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด เพื่อช่วยฟื้นฟูประสาทกล้ามเนื้อให้กลับมาทำงานได้ และช่วยป้องกันการเจ็บป่วยต่อไปในอนาคตซึ่งอาจเกิดจากการที่ร่างกายขาดการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยอาจทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล หรือด้วยตนเองหลังกลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และนักกายภาพบำบัด
3.การทำกิจกรรมบำบัด เป็นการฝึกให้ผู้ป่วยกลับมาช่วยเหลือตนเองได้ ด้วยการฝึกทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน อย่างการแต่งกาย การไปซื้อของ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น ฝึกทำกิจกรรมตามขั้นตอน สอนวิธีลัดอื่น ๆ ที่ช่วยให้ทำกิจกรรมดังกล่าวได้สำเร็จ ปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้ทำกิจกรรมได้ง่ายขึ้น หรือจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่ออำนวยความสะดวกแก่กิจกรรมต่าง ๆ

อ้างอิง
https://th.search.yahoo.com/yhs/search?hspart=iba&hsimp=yhs-1&type=xmds_5497_CRW_TH&p=%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%95+(Paralysis)



การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว ได้แก่
1.      การใช้รถเข็น หรือที่เรียกว่า วีลแชร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รถเข็น
   
     1.1 วีลแชร์ธรรมดา: เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อร่างกายท่อนบนแข็งแรง และเป็นอัมพาตตั้งแต่ส่วนล่างของลำตัวลงไป
        1.2   วีลแชร์ไฟฟ้า: เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อร่างกายท่อนบนอ่อนแอ หรือเป็นอัมพาตชนิดเตตร้าพลีเจีย หรือควอดริพลีเจีย ซึ่งแขนและขาทั้งสองข้างขยับเคลื่อนไหวไม่ได้



2.   การใช้กายอุปกรณ์เสริม เป็นการสวมใส่อุปกรณ์ที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะ เพื่อช่วยชดเชยความอ่อนแอของกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นอัมพาต และช่วยในการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้กายอุปกรณ์เสริม     2.1   กายอุปกรณ์เสริมสำหรับมือ-ข้อมือ: จะทำให้ข้อมือช่วยบังคับการเคลื่อนไหวของนิ้วที่เป็นอัมพาต
     2.2   กายอุปกรณ์เสริมสำหรับเท้า-ข้อเท้า: อุปกรณ์จะช่วยในการเดิน ด้วยการบังคับการเคลื่อนไหวของเท้า เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตส่วนล่างลำตัวลงไปเพียงบางส่วน เช่น ขาข้างเดียว
     2.3 กายอุปกรณ์เสริมสำหรับประคองระดับข้อเข่า: อุปกรณ์จะช่วยประคองความมั่นคงของข้อเข่าและข้อเท้า แต่ท่อนขายังเคลื่อนไหวแกว่งตัวได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตชนิดเตตร้าพลีเจีย หรือควอดริพลีเจีย ที่แขนและขาทั้งสองข้างไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวได้

3.     การขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นอัมพาตจากการถูกกระทบกระเทือนบริเวณไขสันหลัง ส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะด้วย เนื่องจากเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของลำไส้และกระเพาะปัสสาวะจะอยู่บริเวณปลายของไขสันหลัง ผู้ป่วยไม่สามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ตามปกติ จึงต้องใช้วิธีช่วยระบายของเสียออกจากร่างกาย ดังนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สายสวนอุจจาระ      3.1   ฝึกควบคุมการขับถ่าย ช่วยขับของเสียออกจากลำไส้ด้วยการฝึกถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาฃ
     3.2   การสวนอุจจาระ เป็นการใช้ยาสวนเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อช่วยขับถ่ายอุจจาระ
     3.3   การต่อสายท่อปัสสาวะ อาจทำได้ทั้งการต่อท่อเล็ก ๆ จากปลายท่อปัสสาวะบริเวณปลายอวัยวะเพศของผู้ป่วยเพื่อระบายปัสสาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือแพทย์อาจผ่าตัดเจาะต่ออุปกรณ์สายท่อจากกระเพาะปัสสาวะออกมาทางรูที่สร้างขึ้นบริเวณหน้าท้องของผู้ป่วย
    3.4 การใส่ถุงอุจจาระ (Colostomy) แพทย์จะผ่าตัดบริเวณลำไส้แล้วต่อกับถุงอุจจาระโดยตรง แล้วถุงจะอยู่ติดกับผนังหน้าท้องด้านนอกของผู้ป่วย

การใช้ยารักษาอาการปวดประสาท (Neuropathic Pain)  ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดประสาทในระยะยาวเนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลายไปก่อนหน้า ซึ่งอาการปวดประสาทที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาแก้ปวดทั่วไปอย่างพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน แต่ต้องรักษาด้วยยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) และพรีกาบาลิน (Pregabalin) แต่ยาเหล่านี้ล้วนมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ดังนั้น ผู้ป่วยต้องใช้ยาอย่างถูกต้องเหมาะสมภายใต้คำสั่งแพทย์ เพื่อประสิทธิผลสูงสุดในการรักษา และหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นและเป็นอันตรายได้


การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง  ผู้ป่วยอัมพาตมักเผชิญกับปัญหากล้ามเนื้อชา เป็นตะคริว และหดเกร็ง ซึ่งรักษาได้โดยการใช้ยาเหล่านี้
 1.  กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ  เช่น บาโคลเฟน (Baclofen) ทิซานิดีน (Tizanidine) และแดนโทรลีน (Dantrolene) ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคลายกังวลอย่างไดอะซีแปม (Diazepam) นอกจากในรายที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น
2.   โบทูลินัม ท็อกซิน หรือโบท็อกซ์ จะถูกนำมาใช้หากรักษาด้วยยาคลายกล้ามเนื้อแล้วไม่ได้ผล โดยอาจฉีดเฉพาะบริเวณที่กล้ามเนื้อชา ยาจะช่วยคลายกล้ามเนื้อส่วนที่เกิดการชา และหดเกร็งตัว เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อใช้ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดและการฝึกยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ
3.      การให้ยาทางไขสันหลัง (Intrathecal Baclofen Therapy) แพทย์จะผ่าตัดบริเวณด้านหลังของผู้ป่วย โดยเจาะที่หลังตำแหน่งโพรงไขสันหลัง ใส่ท่อที่มียาบาโคลเฟนคลายกล้ามเนื้อจากเครื่องปั๊มยา เพื่อลดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

แก้ปัญหาอาการไอที่ลดลง ผู้ป่วยอัมพาตอาจไอลำบาก ซึ่งการไอเป็นกระบวนการที่ช่วยกำจัดมูกเหนียวหรือเสมหะที่ติดค้างอยู่ภายในระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้สะดวก หากมีกล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาต จะทำให้การไอเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนเสี่ยงต่อการสะสมของมูกเหนียวในปอด นำไปสู่การติดเชื้อในปอดได้ ดังนั้น เพื่อชดเชยความสามารถของกล้ามเนื้อที่ทำให้ไอได้ยากขึ้น ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลควรเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ช่วยให้ผู้ป่วยไอได้มากขึ้น เช่น
1.       ขยับตัวลุกนั่งทุกวัน
2.       พลิกตัวไปมาในขณะนอน
3.       ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้เสมหะที่ข้นเหนียวเจือจางลง เอื้อต่อการไอได้ง่ายขึ้น
4.       ไม่สูบบุหรี่ หรือไม่อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่
5.       ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมค็อกคัส เพื่อป้องกันการป่วยที่จะทำให้เกิดมูกเสมหะสะสมในระบบทางเดินหายใจ

การใช้เครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยบางรายที่กล้ามเนื้อบริเวณกะบังลมเป็นอัมพาต จะส่งผลให้หายใจเข้าออกลำบาก ผู้ป่วยจึงต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยควบคุมอากาศและแรงดันภายในปอด ซึ่งมี 2 ชนิด คือ
1.       Negative Pressure Ventilator เครื่องจะสร้างภาวะสุญญากาศในปอด ทำให้ช่วงอกขยายออก แล้วให้อากาศไหลเข้าสู่ปอดเอง
2.       Positive Pressure Ventilator เครื่องจะส่งออกซิเจนเข้าไปยังปอดโดยตรง เพื่อช่วยในการหายใจ โดยใช้ท่อช่วยหายใจ ซึ่งมี 2 แบบ คือ ท่อที่ต้องผ่าตัดบริเวณคอ เพื่อต่อท่อเข้าไปในหลอดลม และท่อที่สอดเข้าไปทางปากหรือจมูก เพื่อส่งออกซิเจนเข้าไป

แม้อาการอัมพาตในผู้ป่วยบางรายจะรักษาให้หายขาดได้ยาก แต่ผู้ป่วยก็อยู่ร่วมกับอาการอัมพาตได้ ด้วยการใช้เครื่องมือหรือวิธีการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อดูแลประคับประคองและอำนวยความสะดวกให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

ภาวะแทรกซ้อนของอัมพาต
ภาวะรีเฟล็กซ์ประสาทอัตโนมัติผิดปกติ  (Autonomic Dysreflexia) มักเกิดกับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตแขนขาทั้งสองข้าง (Tetraplegia หรือ Quadraplegia) เมื่อมีสิ่งเร้าไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งมีหน้าที่ควบคุมส่วนต่างๆภายในร่างกายที่มีผลต่อการตอบสนองของร่างกาย อย่างระบบความดันโลหิต การย่อยอาหาร และการหายใจ ดังนั้น เมื่อมีสิ่งกระตุ้นเร้า สัญญาณเตือนต่างๆจะไม่สามารถส่งไปยังสมองของผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตได้ เนื่องจากเกิดการบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง เมื่อสมองสั่งการไม่ได้ตามปกติ สุดท้ายระบบประสาทอัตโนมัติจะแสดงอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างผิดปกติ เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นช้าลง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
อาการที่เป็นสัญญาณของภาวะรีเฟล็กซ์ประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง รู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่าย เหงื่อไหลออกมาก แน่นหน้าอก ขนลุก ความดันสูง หัวใจเต้นช้าลง (น้อยกว่า 60 ครั้ง/ นาที) ปัสสาวะลำบาก เป็นต้น หากเกิดภาวะรีเฟล็กซ์ประสาทอัตโนมัติผิดปกติแล้วผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่การชักและมีเลือดออกในสมองจนถึงแก่ความตายได้

ภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นตามมาหลังจากผู้ป่วยประสบเหตุให้เป็นอัมพาตกะทันหัน ทำให้เกิดความโศกเศร้าและทำใจยอมรับได้ยาก แต่หากผู้ป่วยปรับตัวปรับมุมมองได้ ก็จะผ่านพ้นขั้นความเศร้าโศกจนยอมรับความจริงและอยู่ร่วมกับอาการป่วยต่อไปได้
ทั้งนี้ ผู้ป่วยหรือบุคคลใกล้ชิดควรดูแลและเฝ้าระวังสังเกตอาการของผู้ป่วย หากพบว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะซึมเศร้า ควรหาวิธีให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเยียวยา และประคับประคองช่วยเหลือทั้งทางร่างกายและจิตใจ ให้ผู้ป่วยเรียนรู้และปรับตัวได้ในที่สุด

ปัญหาเพศสัมพันธ์และการเจริญพันธุ์ การเป็นอัมพาตอาจส่งผลกระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ไม่เสมอไป ผู้ป่วยบางรายอาจสามารถมีเพศสัมพันธ์และมีบุตรได้ ทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์ตามปกติ และการใช้วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก
ในบางรายผู้ป่วยเพศชายอาจเผชิญกับปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว ไม่สามารถหลั่งอสุจิได้ หรือมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในขณะที่ผู้ป่วยเพศหญิง มักไม่ได้รับผลกระทบในด้านความสามารถในการเจริญพันธุ์ แม้จะมีผู้ป่วยจำนวนมากประสบกับปัญหาความต้องการทางเพศที่ลดลง เพราะมีความวิตกกังวลในเรื่องต่าง ๆ ผู้ป่วยหญิงบางรายก็ไม่มีสารหล่อลื่นบริเวณอวัยวะเพศหญิง แต่แก้ไขได้ด้วยการใช้สารหล่อลื่นที่ถูกต้องและปลอดภัยในการมีเพศสัมพันธ์ ในเพศชาย หากกระทบต่อการใช้ชีวตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว


การป้องกันการเกิดอัมพาต
อาการอัมพาตเกิดขึ้นหลังจากมีปัจจัยก่อนหน้า ฉะนั้น จึงไม่มีแนวทางการป้องกันที่แน่นอน อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นอัมพาตไปแล้วควรศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อไปในอนาคต ได้แก่

รูปภาพที่เกี่ยวข้องการดูแลป้องกันการเกิดแผลกดทับ ผู้ป่วยอัมพาตที่ขยับเขยื้อนร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับอักเสบและติดเชื้อในบริเวณนั้น เนื่องจากต้องนั่งหรือนอนในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ทำให้เลือดนำออกซิเจนและสารอาหารไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนดังกล่าวได้ไม่สะดวก จนเนื้อเยื่อในบริเวณนั้นได้รับความเสียหายหรือเนื้อเยื่อตาย ดังนั้น ผู้ป่วยควรเปลี่ยนตำแหน่งท่านั่งหรือนอนอยู่เสมอ เช่น ขยับตัวเปลี่ยนท่านอนประมาณ 20 ครั้งต่อคืน ผู้ป่วยที่นั่งรถเข็นควรขยับตัวเปลี่ยนตำแหน่งอย่างน้อยทุก 15-30 นาที หากต้องนอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ควรเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
หากผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลและบุคคลใกล้ชิด คนรอบข้างควรหมั่นสังเกตบริเวณผิวหนังของผู้ป่วย หากผิวเกิดรอยแตก หรือมีแผลเปิดซึ่งเป็นแผลกดทับ ควรรีบรักษาหรือไปพบแพทย์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การออกกำลังกายการออกกำลังกาย การมีสุขภาพดีจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ไม่ให้แขนขาอ่อนแรง และยังช่วยฟื้นฟูการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ภายในร่างกาย โดยผู้ที่เป็นอัมพาตควรออกกำลังกายตามสมรรถภาพของตน เช่น การยกน้ำหนัก การขี่จักรยานมือ การเล่นกีฬาต่างๆ บนวีลแชร์
หากผู้ป่วยไม่ถนัดออกกำลังกายหรือไม่ทราบวิธีการควรขอความช่วยเหลือจากนักกายภาพบำบัด ซึ่งจะแนะนำการออกกำลังกายและการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจใช้อุปกรณ์กายภาพบำบัด(Functional Electrical Stimulation-FES) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยส่งกระแสไฟฟ้ากระตุ้นประสาทกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ให้ขยับเคลื่อนไหวได้บ้าง

อ้างอิง

https://www.pobpad.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%95


การทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาต







การฟื้นฟูสภาพ
        เป้าหมายสำคัญคือเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสามารถที่จะเหลือช่วยตัวเอง และมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่สามารถให้การฟื้นฟูได้ดี เป็นผู้ป่วยที่สามารถที่จะรับรู้ เข้าใจ และติดต่อคำบอกเล่า เพราะการเรียนรู้เป็นขั้นตอนการฝึกที่สำคัญของการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย


ผู้ป่วยที่ผลการฟื้นฟูได้ผลดีจะต้องมีลักษณะดังนี้คือ
  1. ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว และสังคมที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  2. มีการฟื้นตัวของความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เร็ว ภายใน 1-2 สัปดาห์
  3. มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อลำตัว สะโพก หัวไหล่ โดยเร็วโดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนต้นได้ภายใน 2-4 สัปดาห์
  4. มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อแต่ละมัดโดยเร็วสามารถควบคุมกล้ามเนื้อแต่ละมัดได้ภายใน 4-6 สัปดาห์
  5. มีอารมณ์ดี ไม่มีอาการซึมเศร้า
  6. มีการรับรู้ที่ดี
ผู้ป่วยที่ผลการฟื้นฟูได้ผลไม่ดี
  1. ผู้ป่วยอยู่ในระยะ coma นานไป
  2. อยู่ในระยะปวกเปียก นานเกิน 2 เดือน
  3. มีอาการเกร็งหรืออ่อนแรงกล้ามเนื้อต้นขา
  4. ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการขับถ่าย
  5. ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
  6. ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางสายตา
  7. ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
  8. ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า
  9. ผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นโรคหัวใจ

การจัดท่านอนของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่ไม่ได้มีการจัดท่านอน มักจะนอนในสภาพเข่า แขน และสะโพกงอ เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นจะไม่สามารถใช้แขน และขาข้างนั้นได้อย่างเต็มที่เนื่องจากข้อติด
การจัดท่านอนหงาย
  • ศีรษะหนุนหมอนใบเล็กๆ ไม่ให้ศีรษะยกสูงไป
  • จัดให้ศีรษะหมุนไปด้านที่อัมพาต
  • จัดตัวให้ตรง อย่าให้เอียงไปด้านที่เป็นอัมพาต
  • ข้อสะโพก ใช้หมอนบางๆหนุนหรือวางใต้สะโพกข้างที่อัมพาตเพื่อกันไม่ให้เชิงกรานแบะออกไปด้านหลัง
  • ข้อเข่าอยู่ในท่าเหยียดตรง หรืองอเล็กน้อย
  • ข้อเท้าใช้ foot board เพื่อป้องกันไม่ให้ปลายเท้าตก
  • ลักษณะของแขนสามารถจัดวางได้ 3 แบบ
  • มือและข้อมือควรจัดดังรูป
การจัดท่านอนตะแคงข้างดี
  • นอนตะแคงเต็มตัว
  • ศีรษะโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย
  • ลำตัวตรง
  • แขนข้างอัมพาตจัดให้ไหล่งุ้มไปทางด้านหน้า ใช้หมอนรองแขน มือวางบนหมอน

การจัดท่านอนตะแคงทับข้างที่เป็นอัมพาต
  • จัดศีรษะโน้มไปด้านหน้า
  • ลำตัวตรง
  • แขน ไหล่ ข้างที่เป็นอัมพาตห่อมาทางด้านหน้า ช่วงปลายแขนอยู่ในท่าหงายมือ
  • ขาด้านหลัง ข้างอัมพาตจับเหยียด ข้อสะโพกตรง เข่างอเล็กน้อย
  • ขาข้างดีอยู่บนงอไปด้านหน้า ใช้หมอนรองรับไว้

การจัดท่านอนคว่ำ
  • ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องหายใจ และสามารถนอนคว่ำได้ ควรจัดให้นอนคว่ำวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ใช้หมอนรองเข้าเท้าไว้

การป้องกันข้อติด
รูปแสดงการทำ passive range of motion เพื่อป้องกันข้อไหล่ แขนติด

แสดงการบริหารบริเวณนิ้วมือ

การบริหารขา

การเคลื่อนไหวบนเตียง
        เมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว ควรสอนให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองในการเปลี่ยนท่านอน เช่นจากท่านอนไปเป็นท่าตะแคง

การตะแคงไปข้างที่ดี
  • สอนให้จับแขนข้างอัมพาตวางไว้บนทรวงอกหรือหน้าท้อง
  • สอดปลายขาที่ดีใต้เข่าที่เป็นอัมพาต เลื่อนเท้าที่ดีลงไปถึงข้อเท้าที่เป็นอัมพาต
  • ใช้ขาที่ดีค่อยๆยกขาข้างอัมพาตขึ้น แล้วค่อยๆตะแคงไปด้านที่ดี
  • ยกศีรษะ ไหล่ และตะแคงตัวไปด้านดี โดยใช้แขนข้างที่ดียันลง
  • บนที่นอน มือจับขอบที่นอนไว้


การตะแคงตัวไปข้างที่เป็นอัมพาต
  • ใช้มือข้างดี อ้อมมาจับราวขอบเตียงหรือขอบที่นอนด้านตรงข้าม
  • ใช้แขนที่ดีดึงตัวให้ตะแคงไปด้านที่เป็นอัมพาต


อ้างอิง
      https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/rehabilitation/rehabilitation.htm